เมนู

3. โลกสูตร


ว่าด้วยตถาคตรู้โลกและอารมณ์ 6


[23] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลก ตถาคตรู้ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว
ตถาคตจึงออกจากโลกได้ โลกสมุทัย ตถาคตก็รู้ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว
ตถาคตจึงละโลกสมุทัยได้ โลกนิโรธ ตถาคตก็รู้ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว
โลกนิโรธตถาคตจึงทำให้แจ้งแล้ว โลกนิโรธคามินีปฏิปทา ตถาคตก็รู้ประจักษ์
ด้วยตนเองแล้ว โลกนิโรธคามินีปฏิปทา ตถาคตจึงทำให้มีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่โลกทั้งเทวโลกทั้งมารโลกทั้งพรหมโลกหมู่สัตว์
ทั้งเทวดามนุษย์ทั้งสมณพราหมณ์ ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว
ได้รู้สึกแล้ว ได้ประสบแล้ว ได้แสวงหาแล้ว ได้คิดค้นแล้ว สิ่งนั้น
ตถาคตได้รู้ยิ่งโดยชอบแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ตถาคต.
ข้อที่ตถาคตได้ตรัสรู้ในเวลาราตรี และปรินิพพานในเวลาราตรี
ตถาคตกล่าวแสดงชี้แจงข้อคำอันใดในระหว่างนั้น ข้อคำทั้งปวงนั้นย่อมเป็น
อย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่นไป เพราะเหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ตถาคต.
ตถาคตพูดอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใดพูดอย่างนั้น เพราะตถาคต
(ยถาวาที ตถาการี) พูดอย่างใดทำอย่างนั้น (ยถาการี ตถาวาที) ทำอย่างใด
พูดอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ตถาคต.
ในโลกทั้งเทวโลกทั้งมารโลกทั้งพรหมโลกในหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์
ทั้งสมณพราหมณ์ ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ (โดยอริยสีลาทิคุณ) ไม่มีใคร
ครอบงำได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ครองอำนาจ เพราะเหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า
ตถาคต.

ท่านผู้ใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งโลก
ทั้งปวง รู้อารมณ์ตามที่เป็นจริงอยู่อย่างไร
ในโลกทั้งปวง เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในโลก
เป็นผู้ไม่มีตัณหา ทิฏฐิ และริษยาในโลก
ทั้งปวง ท่านผู้นั้นแล เป็นปราชญ์ใหญ่
ยิ่งกว่าสรรพสัตว์ ปลดเปลื้องเครื่องผูกมัด
เสียวสิ้น ได้บรมสันติ คือ พระนิพพาน
อันไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ นั่นคือ พระ-
ขีณาสพพุทธเจ้า ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้ตัดความ
สงสัยแล้ว ผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นกรรม
ทั้งปวง ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นอุปธิ.
เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น จึงเป็นพระพุทธเป็นสีหะประเสริฐ
(ในหมู่มนุษย์) ทรงประกาศพรหมจักรแก่
ชาวโลกกับทั้งเทวดา.
เพราะรู้พระคุณเช่นนี้ เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายที่ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
จึงพากันมานมัสการพระองค์ ผู้เป็น
มหาบุรุษผู้ปราศจากความครั่นคร้าม.
พระองค์ทรงฝึกพระองค์แล้ว ประ-
เสริฐกว่าผู้ฝึกทั้งหลาย พระองค์เป็น
พระฤษีผู้สงบแล้ว ประเสริฐกว่าผู้สงบ
ทั้งหลาย พระองค์ทรงพ้นแล้ว เลิศกว่า

ผู้พ้นทั้งหลาย พระองค์ทรงข้าม (โอฆะ)
แล้ว ประเสริฐกว่าผู้ข้ามทั้งหลาย.
ด้วยเหตุนี้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
จึงนมัสการพระองค์ผู้เป็นมหาบุรุษ ผู้
ปราศจากความครั่นคร้าม บุคคลเปรียบปาน
พระองค์ไม่มีในโลกมนุษย์กับทั้งโลก
เทวดา.

จบโลกสูตรที่ 3

อรรถกถาโลกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโลกสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โลโก ได้แก่ทุกขสัจ. บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ได้แก่ ทำให้
ประจักษ์แล้วด้วยญาณ. บทว่า โลกสฺมา ได้แก่ จากทุกขสัจ. บทว่า ปหีโน
ได้แก่ ละได้แล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณ ที่มหาโพธิมัณฑสถาน (โคนโพธิ).
บทว่า ตถาคตสฺส ภาวิตา แปลว่า อันตถาคตทำให้มีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่พระองค์เป็นพุทธะด้วยสัจจะ 4
โดยฐานะมีประมาณเท่านี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ยํ ภิกฺขเว
เพื่อตรัสความที่พระองค์เป็นตถาคต. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐํ ได้แก่
รูปายตนะ อายตนะคือรูป. บทว่า สุตํ ได้แก่ สัททายตนะ อายตนะคือเสียง
บทว่า มุตํ ได้แก่ อายตนะคือ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะเป็นอารมณ์
ที่มาถึงแล้วรับไว้. บทว่า วิญฺญาตํ ได้แก่ ธรรมารมณ์ อารมณ์คือธรรม